ซ่อมบำรุง

<--ย้อนกลับ

ตอนที่ ๑

คำจำกัดความ

            ข้อ ๔  คำจำกัดความที่ใช้ในระเบียบนี้

                   .๑ ยุทโธปกรณ์สายพลาธิการ หมายถึง  สิ่งอุปกรณ์ที่กองทัพบกกำหนดให้ กรมพลาธิการทหารบก รับผิดชอบ ตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วย ความรับผิดชอบสิ่งอุปกรณ์ พ..
๒๕๓๕ และน้ำมันสิ่งอุปกรณ์จัดประจำบุคคลหรือประจำหน่วยตามที่กำหนดไว้ในอัตราการจัดยุทโธปกรณ์ (อจย.) อัตราสิ่งอุปกรณ์ (อสอ.) หรือ อัตราอื่นใดและให้หมายรวมถึงสิ่งอุปกรณ์ซึ่งมิได้ระบุไว้ในในอัตราของหน่วยดังกล่าว แต่ กองทัพบก อนุมัติให้หน่วยมีไว้ในครอบครองตามที่จำเป็น
                   .๒ งบประมาณการซ่อมบำรุง ของกรมพลาธิการทหารบก หมายถึงงบประมาณกลุ่มงบงานส่งกำลัง และซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ตามแผนงานประจำปีและแผนงานระหว่างปีเฉพาะส่วนการซ่อมบำรุง
                   .๓ การตรวจสภาพขั้นต้น หมายถึง การตรวจในขั้นแรกเพื่อทราบการชำรุดของยุทโธปกรณ์ สายพลาธิการ รวมถึง การวินิจฉั ยว่ายุทโธปกรณ์สายพลาธิการชนิดใด ซ่อมได้ หรือซ่อมไม่คุ้มค่า
                   .๔        ชำรุดตามสภาพหมายถึงการชำรุดที่เป็นไปตามผลการใช้งานตามปกติของ ยุทโธปกรณ์สายพลาธิการนั้น ๆ เช่น การสึกหรอจากการใช้งานมานาน หรือเสื่อมสภาพตามระยะเวลา เป็นต้น
                   .๕ ชำรุดผิดสภาพ หมายถึง การชำรุดที่ไม่เป็นไปตามปกติการใช้งาน เช่น อุบัติเหตุ ประมาทเลินเล่อ หรือชิ้นส่วนที่สูญหาย เป็นต้น
                   .๖ การตรวจสภาพทางเทคนิค หมายถึง การตรวจยุทโธปกรณ์สายพลาธิการ โดยใช้ช่างหรือเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ เป็นระดับที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจ เพื่อให้ทราบสาเหตุของการชำรุด ชิ้นส่วนซ่อมและวัสดุซ่อม ที่ต้องใช้ในการซ่อมแก้ จำนวนแรงงานช่าง และเวลาในการซ่อม ทั้งนี้ เพื่อสามารถประมาณความต้องการและวางแผนการซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้อง
                   .๗ การตรวจสภาพในขณะซ่อม หมายถึง การสังเกตการซ่อมเพื่อให้เป็นที่เชื่อได้ว่าการซ่อมซึ่งกระทำด้วยเจ้าหน้าที่ซ่อมยุทโธปกรณ์ สายพลาธิการ นั้น ได้ดำเนินการไปโดยถูกต้องและเพียงพอทางด้านเทคนิค และระเบียบปฏิบัติ
                   .๘ การตรวจสภาพครั้งสุดท้าย หมายถึง การตรวจยุทโธปกรณ์สายพลาธิการ เมื่อช่างได้ซ่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะส่งคืนยุทโธปกรณ์นั้น ๆ ให้หน่วยรับการสนับสนุน หรือคืนคลัง เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือได้ว่าการชำรุดของยุทโธปกรณ์สายพลาธิการ ซึ่งได้ตรวจสภาพไว้ในขั้นต้นได้ซ่อมให้ใช้ในราชการได้โดยสมบูรณ์ และได้มีการทดสอบการทำงานของ ยุทโธปกรณ์สายพลาธิการนั้น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
                   .๙ ชิ้นส่วนซ่อม หมายถึง องค์ประกอบและชิ้นส่วนที่ใช้ในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือการส่งกำลัง หรือ คู่มือเทคนิคที่มีบัญชี ชิ้นส่วนซ่อม
                   .๑๐ องค์ประกอบ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ที่เกิดจากการรวมเข้าด้วยก้นของส่วนประกอบ และชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้ในตัวเอง แต่อาจจะต้องอาศัยการควบคุมภายนอก หรือ อาศัยการขับเคลื่อนจากแหล่งอื่นประกอบด้วย เช่น เครื่องยนต์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า   เป็นต้น
                   .๑๑ ส่วนประกอบ  หมายถึง  สิ่งอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไป และสามารถแยกจากกันได้
                   .๑๒ ชิ้นส่วน   หมายถึง  สิ่งอุปกรณ์ที่ไม่สามารถอดแยกจากกันได้ หรือเป็นอุปกรณ์ได้ออกแบบไว้ให้ถอดแยกจากกันไม่ได้
                   .๑๓ วัสดุซ่อม หมายถึง  สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลืองที่ใช้ในการซ่อม เช่น สีทินเนอร์,
แล็คเกอร์กระดาษทรายด้ายหลอด  เป็นต้น
                   .๑๔ ร่ม  หมายถึง  ร่มชนิดต่าง ๆ ตามที่หน่วยรับผิดชอบ ซึ่งกำหนดไว้ในอัตราการจัดยุทโธปกรณ์ (อจย.) และอัตราสิ่งอุปกรณ์ (อสอ.) เช่น ร่ม RTA –  ๑ ร่ม RTA – ๒ ร่ม RTA – ๓ ร่ม RTA – ๔ ร่มบุคคลช่วยร่มนักบินร่มทิ้งของทุกชนิด และขนาดต่าง ๆ เป็นต้น
                   .๑๕ สิ่งอุปกรณ์ส่งทางอากาศ หมายถึง สิ่งอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ตามที่หน่วยรับผิดชอบซึ่งกำหนดไว้ในอัตราการจัดยุทโธปกรณ์ (อจย.)  และอัตราสิ่งอุปกรณ์ (อสอเช่น
เอ.เอ.เอ.เอ.เอ.๑๐เอ.๒๐เอ.๒๒  เป็นต้น ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง พื้นฐานรองรับและรางเลื่อนขนาดต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งรัดและยึดตรึงด้วย
                   .๑๖ หน่วยใช้ หมายถึง หน่วยระดับกองพัน กองร้อยอิสระ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้ยุทโธปกรณ์สายพลาธิการนั้น ๆ
                   .๑๗ หน่วยซ่อมบำรุง หมายถึง หน่วยทีกำหนดขึ้นตามอัตราการจัดยุทโธปกรณ์
(อจย.) หรืออัตราเฉพาะกิจ (อฉก.) ที่ระบุภารกิจการซ่อมบำรุงไว้
                   .๑๘ บัญชียุทโธปกรณ์รับซ่อม หมายถึง บัญชียุทโธปกรณ์ สายพลาธิการ ที่แสดงถึงรายการเครื่องหมายการค้า แบบ รุ่น หมายเลขทะเบียนของทางราชการ และ/หรือ
หมายลเขลำดับของบริษัทผู้ผลิต หน่วยครอบครองยุทโธปกรณ์นั้น เพื่อใช้ตรวจสอบยุทโธปกรณ์สายพลาธิการ ที่หน่วยนำส่งซ่อม
                   .๑๙ คณะกรรมการตรวจรับยุทโธปกรณ์สายพลาธิการ ที่นำส่งซ่อม หมายถึง
คณะกรรมการที่กองซ่อมบำรุง กรมพลาธิการทหารบก ตั้งขึ้นเพื่อตรวจรับยุทโธปกรณ์ สายพลาธิการ ภายในหีบห่อที่ส่งทางสำนักงานขนส่ง ตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการรับ และส่ง
ยุทโธปกรณ์ พ..๒๕๐๐ ที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน

ตอนที่ ๒

หลักการ และขอบเขตของการซ่อมบำรุง 

            ข้อ ๕ หลักการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สายพลาธิการ มีดังนี้
                   .๑ การซ่อมบำรุงโดยช่างซ่อมของ กรมพลาธิการทหารบก โดยปกติแล้ว ถือว่า
วิธีนี้เป็นวิธีการหลัก ซึ่งแยกการปฏิบัติออกได้ ดังนี้
                         ..๑ การซ่อมบำรุง ณ ที่ตั้งปกติของ โรงงานซ่อม กรมพลาธิการทหารบก
                         ..๒ ส่งชุดซ่อมเคลื่อนที่ไปดำเนินการซ่อมแก้ให้ ณ ที่ตั้งของหน่วย หรือที่ยุทโธปกรณ์ สายพลาธิการนั้นตั้งอยู่ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวก และประหยัดกว่า
                   .๒ การซ่อมบำรุง โดยการจ้างซ่อม หรือโอนงบประมาณไปให้หน่วยรับการสนับสนุนช่างซ่อมเอง ซึ่งจะกระทำในกรณีจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เช่น มีความจำเป็นเร่งด่วน
(หากล่าช้าอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการได้ต้องใช้ยุทโธปกรณ์ไม่มีชิ้นส่วนซ่อมหรือไม่มีเครื่องมือในการดำเนินการซ่อม หรือการจ้างซ่อมในท้องถิ่นประหยัดกว่าการส่งซ่อมที่ กรมพลาธิการทหารบก และในท้องถิ่นนั้นมีช่าง และเครื่องมือสามารถซ่อมได้ตาม
มาตรฐานที่ต้องการ
                   .๓ การรับยุทโธปกรณ์สายพลาธิการไว้ซ่อม กองซ่อมบำรุง กรมพลาธิการทหารบก จะต้องตรวจสอบว่ายุทโธปกรณ์สายพลาธิการที่ชำรุด ได้ส่งซ่อมตามสายงาน และตามขั้นตอนี่กำหนดไว้ในระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการซ่อมบำรุง ยุทโธปกรณ์ พ..๒๕๒๔ และคำสั่งกองทัพบก ที่ ๔๘๗/๒๕๔๓ เรื่อง การกำหนดภารกิจ นโยบายแนวความคิด และความรับผิดชอบในการส่งกำลังบำรุงของกองทัพบก ลง ๓ ตุลาคม ๒๕๔๓
                   .๔ การส่งซ่อมยุทโธปกรณ์สายพลาธิการ โดยปกติให้ดำเนินการตามข้อ ๕.๓ หากหน่วยประสงค์จะส่งซ่อม โดยตรงที่กรมพลาธิการทหารบก หน่วยนั้นจะต้องมีความจำเป็นเร่งด่วนต่อยุทโธปกรณ์ สายพลาธิการ เป็นกรณีพิเศษ และต้องได้รับอนุมัติจากเจ้ากรมพลาธิการทหารบกเสียก่อน
          ข้อ ๖ ขอบเขตการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ สายพลาธิการ 
                   .๑ กรมพลาธิการทหารบก จะทำการซ่อมยุทโธปกรณ์ สายพลาธิการ ในประเภทการซ่อมบำรุงในระดับคลัง แต่จะทำการซ่อมบำรุงในประเภทที่ต่ำกว่าในกรณีต่อไปนี้
                             ..๑ หน่วยทีไม่มีหน่วยซ่อมบำรุง สายพลาธิการ ให้การสนับสนุน เช่น หน่วยส่วนกลาง ส่วนการศึกษา ฯลฯ แต่ทั้งนี้กรมพลาธิการทหารบกจะดำเนินการซ่อมบำรุงให้ต่อเมื่อหน่วยนั้น ๆ ไม่อาจดำเนินการซ่อมบำรุงได้ด้วยงบบริหารของหน่วย สำหรับการปรนนิบัติบำรุงเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้ใช้จะต้องปฏิบัติ
                             ..๒ หน่วยซ่อมบำรุงระดับที่ต่ำกว่ามีงานซ่อมจำนวนมากและมีความจำเป็นต้องรีบดำเนินการ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นและเร่งด่วน หรือเมื่อหน่วยซ่อมบำรุง ยังไม่มีความสามารถที่จะซ่อมยุทโธปกรณ์สายพลาธิการนั้นได้ เพราะขาดเครื่องมือซ่อมหรือช่างซ่อม

                   .๒ ยุทโธปกรณ์สายพลาธิการที่ กรมพลาธิการทหารบก จะทำการซ่อมบำรุงให้จะต้องเป็นยุทโธปกรณ์สายพลาธิการที่ กรมพลาธิการทหารบก แจกจ่ายให้ หรือที่หน่วยได้รับมาจากการจัดหาเอง รับจากกการบริจาค แลกเปลี่ยน และจะต้องขอขึ้นบัญชีคุมสถานภาพไว้ต่อกรมพลาธิการทหารบกแล้ว

<--ย้อนกลับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น